นโยบาย
นโยบาย 2563 | |
1. ด้านการจัดการองค์กรเชิงรุก | |
1.1 เสริมสร้างเอกลักษณ์ขององค์กรให้โดดเด่น ด้านการผลิตและพัฒนา บุคลากรด้านสุขภาพอย่างมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับ ตอบสนองระบบ สุขภาพชุมชน 1.2 มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศด้วยการพัฒนาและยกระดับขีด สมรรถนะบุคคลากรทุกระดับ 1.3 สร้างอัตลักษณ์การทำงานด้วยจิตบริการที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์ 1.4 เร่งรัดการสร้างและเผยแพร่ผลงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญา ท้องถิ่นบนหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1.5 เสริมสร้างอัตลักษณ์บัณฑิตSHAPE ให้เป็นรูปธรรม ภายใต้คำขวัญ “ใฝ่เรียนรู้ คุณธรรมดี มีจิตบริการ” SHAPE of BCNT S = Service mind H = Health Promotion competencies A = Analytical Thinking P = Participation E = Ethics & Moral 1.6 การพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาและการสื่อสารแก่บุคลากรทุกระดับที่ใช้งานได้ |
|
2. นโยบายด้านการบริหาร | |
2.1 การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) และประกาศนโยบายหน่วยงานคุณธรรม ด้วยค่านิยมคุณธรรม ?พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา? รวมถึงการบริหารแบบ มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management) 2.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร การสื่อสารและการตัดสินใจ (Information and Communications Technology 2.3 การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ? ให้เกียรติ เอื้ออาทร และรักษ์ วพบ.ตรัง? Recognition Caring Royalty? Caring Royalty) |
|
3 นโยบายด้านการจัดการศึกษา | |
3.1 พัฒนาระบบการจัดการศึกษา เน้นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและกระบวนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิตและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทั้งในหลักสูตร นอกหลักสูตรและตามอัธยาศัยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา 3.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา 3.4 พัฒนาสมรรถนะอาจารย์ในการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ อุดมศึกษาแห่งชาติและอัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบัน 3.5 พัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3.6 พัฒนาผลสัมฤทธิ์การสอบความรู้รวบยอด 3.7 เน้นการประชาสัมพันธ์ คัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบเป็นสำคัญ |
|
4. นโยบายด้านประกันคุณภาพการศึกษา | |
4.1 ผลักดันการดำเนินการประกันคุณภาพให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องครบถ้วน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา และการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน 4.2 พัฒนาระบบการจัดการความรู้และสร้างเครือข่ายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา |
|
5. นโยบายด้านวิจัยและนวัตกรรม | |
5.1 ส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัย และนวัตกรรมที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ตามความต้องการ จำเป็นของสังคม ชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน และประเทศ ผลลัพธ์ของการวิจัยและนวัตกรรมมีผลกระทบสูงต่อการพัฒนาผู้เรียน การสร้างคุณภาพชีวิต สร้างมูลค่าเพิ่ม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติ 5.2 สนับสนุนให้อาจารย์มีการบูรณาการผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการศึกษา และบริการวิชาการแก่สังคม 5.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย และนวัตกรรมแก่สังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง 5.4 สนับสนุน ทรัพยากร งบประมาณ แหล่งทุนวิจัย และนวัตกรรม ทั้งภายในภายนอกและสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์ทำวิจัย 5.5 สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ |
|
6. นโยบายการบริการวิชาการแก่สังคม | |
6.1 บริการวิชาการเชิงรุกแก่สังคมที่สอดคล้องกับบริบท และตอบสนองความต้องการของชุมชน นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของผู้เรียน ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 6.2 พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศสาขาอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และสาขาการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับเครือข่าย/ชาติ/นานาชาติ |
|
7. นโยบายด้านทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม | |
7.1 ส่งเสริมการสร้างบรรยากาศองค์กรที่สืบสาน การสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม ทั้งของไทยละต่างประเทศอย่างเหมาะสม 7.2 ส่งเสริม อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน บริการวิชาการ กิจกรรมเสริมหลักสูตร และการวิจัย 7.3 สืบสานวัฒนธรรม ประเพณี ศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และปฏิบัติเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย |
นโยบาย 2564 | |
1. นโยบายด้านการจัดการองค์กรเชิงรุก | |
1.1 เสริมสร้างเอกลักษณ์ขององค์กรให้โดดเด่น โดยการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพอย่างมีคุณภาพ เพื่อตอบสนองระบบสุขภาพชุมชน 1.2 มุ่งมั่นพัฒนาองค์กร ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมด้วยการพัฒนา และยกระดับศักยภาพของบุคลากรทุกระดับ 1.3 สร้างอัตลักษณ์การทำงานด้วยจิตบริการที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์ 1.4 เร่งรัดการสร้างและเผยแพร่ผลงานด้านการพยาบาลฉุกเฉิน 1.5 พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารแก่บุคลากรทุกระดับให้อยู่ในระดับที่สามารถใช้ งานได้ (Working Knowledge) |
|
2. นโยบายด้านการบริหาร | |
2.1 การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ภายใต้ค่านิยม “พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา” 2.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร การสื่อสารและการตัดสินใจ (Information and Communications Technology) |
|
3 นโยบายด้านการจัดการศึกษา | |
3.1 พัฒนาระบบการจัดการศึกษา เน้นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและกระบวนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิตและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทั้งในหลักสูตร นอกหลักสูตรเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และอัตลักษณ์บัณฑิต 3.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา 3.4 พัฒนาสมรรถนะอาจารย์ในการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม 3.5 พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ การสร้างสรรค์นวัตกรรม การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน 3.6 พัฒนาผลสัมฤทธิ์การสอบความรู้รวบยอด และการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพ |
|
4. นโยบายด้านประกันคุณภาพการศึกษา | |
4.1 ผลักดันการดำเนินการประกันคุณภาพให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องครบถ้วน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา และการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน 4.2 พัฒนาระบบการจัดการความรู้และสร้างเครือข่ายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา |
|
5. นโยบายด้านวิจัยและนวัตกรรม | |
5.1 ส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัย และนวัตกรรมที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ตามความต้องการ จำเป็นของสังคม ชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน และประเทศ โดยผลลัพธ์ของการวิจัยและนวัตกรรมมีผลกระทบสูงต่อการพัฒนาผู้เรียน การสร้างคุณภาพชีวิต สร้างมูลค่าเพิ่ม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติ 5.2 สนับสนุนให้อาจารย์มีการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 5.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ และนวัตกรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ 5.4 สนับสนุน ทรัพยากร งบประมาณ แหล่งทุนวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งเร่งรัดให้มีการแสวงหาทุนสนับสนุนจากภายนอก 5.5 สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ |
|
6. นโยบายการบริการวิชาการแก่สังคม | |
6.1 บริการวิชาการเชิงรุกแก่สังคมที่สอดคล้องกับบริบท และตอบสนองความต้องการของชุมชน นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของผู้เรียน ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 6.2 พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศสาขาการพยาบาลฉุกเฉิน ในระดับเครือข่าย/ชาติ/นานาชาติ |
|
7. นโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย | |
7.1 ส่งเสริมการสร้างบรรยากาศองค์กรที่สืบสาน การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม ทั้งของไทยและต่างประเทศอย่างเหมาะสม 7.2 ส่งเสริม อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน บริการวิชาการ กิจกรรมเสริมหลักสูตร และการวิจัย 7.3 สืบสานวัฒนธรรม ประเพณี ศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และปฏิบัติ เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย |